13 มีนาคม 2555

ประเภทคำวินิจฉัย (Diagnoses categories) ==> DxType

ประเภทคำวินิจฉัย (Diagnoses categories)
1. Principal diagnosis (การวินิจฉัยหลัก)
2. Comorbidity (การวินิจฉัยร่วม)
3. Complication (โรคแทรก)
4. Other diagnoses (การวินิจฉัยอื่นๆ)
5. External cause of injury and poisoning  (กลไกการบาดเจ็บ หรือการได้รับพิษ)

องค์ประกอบที่สำคัญของคำวินิจฉัยหลัก ได้แก่ 
1. การวินิจฉัยหลักมีได้เพียงการวินิจฉัยเดียวเท่านั้น (อาจมี 2 โรค แต่ต้องให้รหัสได้เพียง 1 รหัส)
2. เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมารับการรักษาในครั้งนี้
3. ในผู้ป่วยที่มีโรคหลายโรคในการมารับการรักษาครั้งนี้
 - ให้เลือกโรคที่ได้ทำการรักษาเป็นการวินิจฉัยหลัก 
 - หากรักษาหลายโรคพร้อมๆกัน ให้เลือกโรคที่รุนแรงที่สุดเป็นการวินิจฉัยหลัก 
 - หากโรคที่รักษาพร้อมๆกันหลายโรคมีความรุนแรงใกล้เคียงกัน ให้เลือกโรคที่ใช้ทรัพยากรในการรักษาสูงสุดเป็นการวินิจฉัยหลัก
4. หากวินิจฉัยโรคไม่ได้ ให้ใช้อาการหรืออาการแสดงเป็นการวินิจฉัยหลัก
5. กรณีบาดเจ็บมีแผลหลายตำแหน่งให้บันทึกบาดแผลที่มีความรุนแรงมากที่สุดเป็นคำวินิจฉัยหลัก

รหัสที่ห้ามใช้เป็นรหัสการวินิจฉัยหลัก
- รหัสที่มีเครื่องหมายดอกจัน (*) กำกับ
- รหัสในหมวดอักษร V, W, X, Y ซึ่งเป็นรหัสสำหรับสาเหตุภายนอก
- รหัส B95 - B97 ซึ่งแสดงเชื้อต้นเหตุของการติดเชื้อ
- รหัส P00-P04 ซึ่งแสดงว่าทารกแรกคลอดได้รับ ผลกระทบจากโรคของมารดา
- รหัส Z37.x  ซึ่งแสดงผลของการคลอด
- รหัส U80 – U89 ซึ่งแสดงชื่อยาปฏิชีวนะที่เชื้อแบคทีเรียดื้อยา

การวินิจฉัยร่วม (Comorbidity : SDx) (Pre-admission comorbidity)
องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
1. เป็นโรคที่ เกิดขึ้นก่อน หรือ พร้อมๆ กับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลัก ยังมีพยาธิสภาพและการรักษาอยู่
2. เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากพอที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรก เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือพิการ ทำให้ต้องเพิ่มการตรวจพิเศษ เพิ่มยาหรือเวชภัณฑ์ ต้องได้รับการดูแล หรือต้องทำการรักษาเพิ่มเติม
3. สามารถบันทึกการวินิจฉัยร่วมได้มากกว่า 1 โรค โดยไม่จำกัดจำนวนสูงสุดที่จะบันทึกได้
4. โรคที่มักเป็นการวินิจฉัยร่วม ได้แก่ โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวายเรื้อรัง ฯลฯ
5. ในกรณีผู้ป่วยบาดเจ็บหลายตำแหน่ง มักมีบาดแผลต่างๆ ที่มีความรุนแรงน้อยกว่าบาดแผลหลักเป็นโรคร่วม

วินิจฉัยโรคแทรก (Complication :SDx) (Post-admission comorbidity)
องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
1. เป็นโรคที่ เกิดขึ้นหลังการมารับการรักษา หรือ เกิดขณะที่กำลังรักษาที่หน่วยให้บริการ (ไม่ใช่โรคติดเชื้อแทรกซ้อน)
2. เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากพอที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรก เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือพิการ ทำให้ต้องเพิ่มการตรวจพิเศษ เพิ่มยาหรือเวชภัณฑ์ ต้องได้รับการดูแลหรือต้องทำการรักษาเพิ่มเติม
3. สามารถบันทึกการวินิจฉัยร่วมได้มากกว่า 1 โรค โดยไม่จำกัดจำนวนสูงสุดที่จะบันทึกได้ เช่น ผู้ป่วยตกเตียงแขนหักขณะกำลังให้ออกซิเจน แขนหักถือว่าเป็นโรคแทรก

คำวินิจฉัยอื่นๆ (Other diagnoses)
องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
1. เป็นโรคเล็กน้อย หรือเป็นโรคที่ไม่มีความรุนแรง
2. เป็นโรคพบร่วมกับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลัก หรือพบขณะรักษาก็ได้
3. อาจเป็นโรคระบบเดียวกันกับการวินิจฉัยหลัก หรืออาจไม่เกี่ยวเนื่องกับการวินิจฉัยหลักก็ได้
4. การวินิจฉัยอื่นๆ มีได้มากกว่า 1 อย่าง เช่น สิว, ปาน

EXTERNAL CAUSE OF INJURY AND POISONING (กลไกการบาดเจ็บ หรือการได้รับพิษ)
องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
1. บอกลักษณะกลไกการบาดเจ็บได้อย่างละเอียด เช่น บรรยายว่านั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์จะไปทำงาน แล้วรถจักรยานยนต์สะดุดก้อนหินลื่นล้มเอง หรือบรรยายว่าถูกฟันด้วยมีดอีโต้ขณะไปเที่ยวที่งานวัด
2. ระบุได้ชัดเจนว่าเป็นอุบัติเหตุ หรือถูกทำร้าย หรือเป็นการฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเอง
การให้รหัสสาเหตุภายนอก
1. บันทึกไว้เป็นลำดับสุดท้าย
2. เลือกประเภทคำวินิจฉัย (Dxtype) = 5
3. รหัส V,W,X,Y 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น