15 มีนาคม 2555

แนวทางด้านข้อมูลของ สนย.ปี2555

แนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาคุณภาพฐานข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก การบริการสร้างเสริมสุขภาพ  และป้องกันโรครายบุคคล ในรูปแบบ 21 แฟ้มมาตรฐาน  ปีงบประมาณ  2555 สำนักโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลักระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
แนวทางการตรวจสอบคุณภาพฐานข้อมูลฯ ปีงบประมาณ  2555  การตรวจสอบคุณภาพฐานข้อมูล ปี 2555  ได้กำหนดไว้  3 ส่วน
 ส่วนที่ 1    ตรวจสอบเชิงปริมาณ ประกอบด้วย -ตรวจสอบโครงสร้างฯ ตามที่กำหนด -ตรวจสอบรหัส ว่าถูกต้องตามที่กำหนดหรือไม่ -ตรวจสอบความเชื่อมโยงเบื้องต้น
ส่วนที่ 2  ตรวจสอบเชิงความสัมพันธ์ของแต่ละแฟ้ม เพื่อการออกรายงาน ประกอบด้วย -ตรวจสอบความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ในแต่ละแฟ้มที่เกี่ยวข้อง -ตรวจสอบตามเงื่อนไขและเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับการออกรายงาน
ส่วนที่  3  ลงพื้นที่โดยการสุ่ม เพื่อตรวจสอบ ให้คำแนะนำในการบันทึก/จัดเก็บข้อมูลฯ ร่วมกับกรม
ส่วนที่ 4   จัดทำเว็บไซต์ให้กับจังหวัดสำหรับติดตามในส่วนที่มีข้อมูลผิดพลาดสูง  เพื่อช่วยในการบริการจัดการแก้ไขปัญหาการบันทึกข้อมูลไม่ถูกต้อง ที่ 164.115.5.62/ccreport/
ด้านคุณภาพฐานข้อมูล    
1.1  จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน และแนวทางการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลฯ ปีงบประมาณ 2555 ร่วมกับ สปสช. ประมาณเดือนธันวาคม -มกราคม
1.2  จัดอบรมครู ก  โดยให้จังหวัดคัดเลือกผู้เหมาะสมส่งเข้าอบรม จังหวัดละ 2 คน เพื่อทำหน้าที่ให้ความรู้ในการให้รหัสโรคฯ ในระดับจังหวัดต่อไป ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ๒๕๕๕     
1.3   สนับสนุนและผลักดันให้ทุกจังหวัดสอบวัดความรู้เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในระดับปฐมภูมิทุกคน เพื่อจะได้จัดกลุ่มจัดอบรมได้ตรงตามความต้องการ จะดำเนินการสำรวจและทำทะเบียนไว้
แฟ้มข้อมูลที่เพิ่มใหม่ในปีงบประมาณ 2555
กระทรวงสาธารณสุข  ได้ประกาศให้มีการจัดเก็บฐานข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จาก 18 แฟ้มมาตรฐาน เป็น 21 แฟ้มมาตรฐาน โดยเพิ่มแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการคัดกรองโรคเรื้อรัง  ได้แก่  เบาหวาน  และความดันโลหิต จำนวน  3  แฟ้ม ได้แก่
                1)  NCDSCREEN         
                2)  CHRONICFU
                3) LABFU
1.   NCDSCREEN (หน้า 27)
          -ข้อมูลการให้บริการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง  สำหรับผู้ที่มารับบริการ และ  ประวัติการได้รับบริการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเป้าหมายอายุ 15 ปีขึ้นไป ทั้งในรพ.และสถานบริการระดับปฐมภูมิ ทั้งในและนอกสถานพยาบาล ทั้งที่อาศัยในเขตและนอกเขตรับผิดชอบ 
        -ข้อมูลที่สถานพยาบาลอื่นให้บริการกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยในเขตรับผิดชอบ เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินความครอบคลุม
กรณีโรงพยาบาล     เขตรับผิดชอบ หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือ พื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ
ลักษณะแฟ้ม   เป็นแฟ้มบริการ  กำหนดให้ทำการคัดกรองปีละ 1 ครั้ง  และจัดส่งข้อมูลทุกครั้งที่มีการคัดกรอง
2.   CHRONICFU (หน้า 29)
       ข้อมูลการตรวจติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง)  ที่ได้รับการตรวจติดตามโดยโรงพยาบาลหรือสถานบริการระดับปฐมภูมิทุกคน ทั้งที่อาศัยในเขตและนอกเขตรับผิดชอบ
ข้อมูลการตรวจภาวะแทรกซ้อน เป็นการตรวจร่างกาย ได้แก่ การตรวจเท้า ตา หากพบภาวะแทรกซ้อนให้บันทึกในแฟ้ม DIAG_OPD ในส่วนของการวินิจฉัย  complication
ลักษณะแฟ้ม เป็นแฟ้มบริการ  จัดเก็บ/บันทึกข้อมูลทุกครั้งที่ให้บริการ  เพื่อติดตามผลการรักษา และส่งข้อมูลให้จังหวัดและส่วนกลางในรอบของเดือนนั้น ๆ
3.  แฟ้ม LABFU ( หน้า 31)
          ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยโรคเรื้อรับ (เบาหวานและความดันโลหิตสูง)  ที่ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดย รพ. และสถานบริการระดับปฐมภูมิทุกคน ทั้งที่อาศัยในเขตและนอกเขตรับผิดชอบ
กรณีโรงพยาบาล   เขตรับผิดชอบ หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือพื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ
ลักษณะแฟ้ม เป็นแฟ้มบริการ  จัดเก็บ/บันทึกข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกครั้ง และส่งข้อมูลให้จังหวัดและส่วนกลางภายในรอบของเดือนนั้น ๆ
การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
1.  ใช้ในการบริหารงาน กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานด้านสุขภาพ
      ในระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล
 2.  ใช้ในตัดสินใจด้านนโยบายสุขภาพ
 3.  ใช้ในการประเมินการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิ หรือชุมชน
 4.  เพื่อลดการรายงานของสถานบริการโดยใช้ข้อมูลที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์แทน 
             ปัจจุบัน  ได้ประมวลสำหรับใช้ในการรายงานการให้บริการวัคซีน, กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ,สำนักทันตสาธารณสุข,สำนักโภชนาการ, กรมควบคุมโรค, กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นต้น
5.  จัดทำชุดข้อมูล (Data Set Report) ที่ได้จากฐานข้อมูล 21 แฟ้มร่วมกับกรม และหน่วยงานที่กี่ยวข้อง สำหรับใช้ประโยชน์   โดยใช้ข้อมูลจาก สนย. แทนจังหวัด เพื่อลดภาระการรายลง
6.  ใช้รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดสำคัญระดับจังหวัด/กรม/กระทรวง  ปีงบประมาณ 2555   ตัวอย่าง  เช่น.....
                                6.1  ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรองเบาหวาน  โดยการตรวจเลือด (Fasting Capillary Blood Glucose หรือ Fasting Plasma Glucose) ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON + LABFU
                                6.2  ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON
                                6.3  ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองโดยการเจาะเลือด  แล้วพบว่ามีภาวะ Pre-DM ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON + LABFU + DIAG
                                6.4  ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองโดยการเจาะเลือด  แล้วพบว่ามีภาวะ DM ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON + LABFU + DIAG
6.5 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองโดยการเจาะเลือด  แล้วพบว่ามีภาวะ Pre-HT ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON + DIAG
                                6.6 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองโดยการเจาะเลือด  แล้วพบว่ามีภาวะ HT ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON + DIAG
                                6.7  ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีภาวะ Pre-DM หรือ DM ที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองแล้วพบว่ามีความเสี่ยง ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON
                                6.8 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีภาวะ Pre-HT หรือ HT ที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองแล้วพบว่ามีความเสี่ยง ได้จากแฟ้ม NCDSCREEN + PERSON
6.9  ร้อยละของเด็ก 0 – 5 ปี ที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ ค่อนข้างสูง  สูงกว่าเกณฑ์รวมกัน  ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON
                                6.10  ร้อยละของเด็ก 0 – 5 ปี ที่มีรูปร่างสมส่วน ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON
                                6.11 ร้อยละของเด็ก 0 – 5 ปี ที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON
                                6.12 ร้อยละของเด็ก 6 – 18 ปี ที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ ค่อนข้างสูง สูงกว่าเกณฑ์รวมกัน ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON
                                6.13  ร้อยละของเด็ก 6 – 18 ปี ที่มีรูปร่างสมส่วน ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON
                                6.14  ร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีกาวะอ้วน ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON
5.15 ร้อยละของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีกาวะอ้วน (น้ำหนักเทียบกับส่วนสูงหรือค่า BMI) ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON
                5.16 ร้อยละของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีกาวะอ้วนลงพุง ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON
                5.17 ร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ได้รับการชั่งน้ำหนักเทียบกับส่วนสูง ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON
                5.18 ร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการชั่งน้ำหนักเทียบกับส่วนสูง ได้จากแฟ้ม NUTRITION + PERSON
                5.19 ร้อยละของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวัดรอบเอว ได้จากแฟ้ม  NCDSCREEN + PERSON
                5.20  ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ได้จากแฟ้ม ANC + PERSON
6.21 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์  ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 12  สัปดาห์ ได้จากแฟ้ม ANC + PERSON
                6.22 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการสาธารณสุข  ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับคำแนะนำทางทันตสุขภาพ ได้จากแฟ้ม ANC + MCH + PERSON
                6.23 อัตราการตั้งครรภ์ของหญิงอายุ 15 – 19  ปี ได้จากแฟ้ม ANC + PERSON
                6.24 อัตราคุมกำเนิดของหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 15 – 49 ปี ที่อยู่กินกับสามี  ได้จากแฟ้ม FP + WOMEN + PERSON
                6.25  การออกรายงานตาม Dataset  Report สำหรับกรม กอง และหน่วยงานภายในหรือภายนอกกระทรวงสาธารณสุข
                6.26  ร้อยละของเด็กอายุครบ 1  ปี  ที่ได้รับวัคซีน  MMR ในไตรมาสที่รายงาน
                6.27   ร้อยละของเด็กอายุครบ 2  ปี  ที่ได้รับวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ครั้งที่ 2 ในไตรมาสที่รายงาน
1.  เร่งรัดให้มีการบันทึกข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก การบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ครบทุกบริการ ตามมาตรฐานที่กำหนดในโครงสร้างฯ ให้ครอบคลุมสถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับและทุกแห่ง
 2.  วัดความรู้ผู้ให้บริการระดับปฐมภูมิ เพื่อจะได้จัดกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมได้ถูกต้องตรงตามที่ต้องการ
 3.  จัดทำแผนและฝึกอบรมผู้ให้บริการระดับปฐมภูมิทุกคนให้มีความรู้ และสามารถวินิจฉัยรหัสโรคและให้รหัสโรคได้ถูกต้องตาม ICD-10-TM
ข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก การบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประชาชนทุกคนมสุขภาพดี

สรุปจากที่มาไฟล์ ppt นำเสนอแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาคุณภาพฐานข้อมูลการบริการผู้ป่วยนอก การบริการสร้างเสริมสุขภาพ  และป้องกันโรครายบุคคล ในรูปแบบ 21 แฟ้มมาตรฐาน  ปีงบประมาณ  2555 สำนักโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลักระทรวงสาธารณสุข

13 มีนาคม 2555

ประเภทคำวินิจฉัย (Diagnoses categories) ==> DxType

ประเภทคำวินิจฉัย (Diagnoses categories)
1. Principal diagnosis (การวินิจฉัยหลัก)
2. Comorbidity (การวินิจฉัยร่วม)
3. Complication (โรคแทรก)
4. Other diagnoses (การวินิจฉัยอื่นๆ)
5. External cause of injury and poisoning  (กลไกการบาดเจ็บ หรือการได้รับพิษ)

องค์ประกอบที่สำคัญของคำวินิจฉัยหลัก ได้แก่ 
1. การวินิจฉัยหลักมีได้เพียงการวินิจฉัยเดียวเท่านั้น (อาจมี 2 โรค แต่ต้องให้รหัสได้เพียง 1 รหัส)
2. เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมารับการรักษาในครั้งนี้
3. ในผู้ป่วยที่มีโรคหลายโรคในการมารับการรักษาครั้งนี้
 - ให้เลือกโรคที่ได้ทำการรักษาเป็นการวินิจฉัยหลัก 
 - หากรักษาหลายโรคพร้อมๆกัน ให้เลือกโรคที่รุนแรงที่สุดเป็นการวินิจฉัยหลัก 
 - หากโรคที่รักษาพร้อมๆกันหลายโรคมีความรุนแรงใกล้เคียงกัน ให้เลือกโรคที่ใช้ทรัพยากรในการรักษาสูงสุดเป็นการวินิจฉัยหลัก
4. หากวินิจฉัยโรคไม่ได้ ให้ใช้อาการหรืออาการแสดงเป็นการวินิจฉัยหลัก
5. กรณีบาดเจ็บมีแผลหลายตำแหน่งให้บันทึกบาดแผลที่มีความรุนแรงมากที่สุดเป็นคำวินิจฉัยหลัก

รหัสที่ห้ามใช้เป็นรหัสการวินิจฉัยหลัก
- รหัสที่มีเครื่องหมายดอกจัน (*) กำกับ
- รหัสในหมวดอักษร V, W, X, Y ซึ่งเป็นรหัสสำหรับสาเหตุภายนอก
- รหัส B95 - B97 ซึ่งแสดงเชื้อต้นเหตุของการติดเชื้อ
- รหัส P00-P04 ซึ่งแสดงว่าทารกแรกคลอดได้รับ ผลกระทบจากโรคของมารดา
- รหัส Z37.x  ซึ่งแสดงผลของการคลอด
- รหัส U80 – U89 ซึ่งแสดงชื่อยาปฏิชีวนะที่เชื้อแบคทีเรียดื้อยา

การวินิจฉัยร่วม (Comorbidity : SDx) (Pre-admission comorbidity)
องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
1. เป็นโรคที่ เกิดขึ้นก่อน หรือ พร้อมๆ กับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลัก ยังมีพยาธิสภาพและการรักษาอยู่
2. เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากพอที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรก เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือพิการ ทำให้ต้องเพิ่มการตรวจพิเศษ เพิ่มยาหรือเวชภัณฑ์ ต้องได้รับการดูแล หรือต้องทำการรักษาเพิ่มเติม
3. สามารถบันทึกการวินิจฉัยร่วมได้มากกว่า 1 โรค โดยไม่จำกัดจำนวนสูงสุดที่จะบันทึกได้
4. โรคที่มักเป็นการวินิจฉัยร่วม ได้แก่ โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวายเรื้อรัง ฯลฯ
5. ในกรณีผู้ป่วยบาดเจ็บหลายตำแหน่ง มักมีบาดแผลต่างๆ ที่มีความรุนแรงน้อยกว่าบาดแผลหลักเป็นโรคร่วม

วินิจฉัยโรคแทรก (Complication :SDx) (Post-admission comorbidity)
องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
1. เป็นโรคที่ เกิดขึ้นหลังการมารับการรักษา หรือ เกิดขณะที่กำลังรักษาที่หน่วยให้บริการ (ไม่ใช่โรคติดเชื้อแทรกซ้อน)
2. เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากพอที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรก เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือพิการ ทำให้ต้องเพิ่มการตรวจพิเศษ เพิ่มยาหรือเวชภัณฑ์ ต้องได้รับการดูแลหรือต้องทำการรักษาเพิ่มเติม
3. สามารถบันทึกการวินิจฉัยร่วมได้มากกว่า 1 โรค โดยไม่จำกัดจำนวนสูงสุดที่จะบันทึกได้ เช่น ผู้ป่วยตกเตียงแขนหักขณะกำลังให้ออกซิเจน แขนหักถือว่าเป็นโรคแทรก

คำวินิจฉัยอื่นๆ (Other diagnoses)
องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
1. เป็นโรคเล็กน้อย หรือเป็นโรคที่ไม่มีความรุนแรง
2. เป็นโรคพบร่วมกับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลัก หรือพบขณะรักษาก็ได้
3. อาจเป็นโรคระบบเดียวกันกับการวินิจฉัยหลัก หรืออาจไม่เกี่ยวเนื่องกับการวินิจฉัยหลักก็ได้
4. การวินิจฉัยอื่นๆ มีได้มากกว่า 1 อย่าง เช่น สิว, ปาน

EXTERNAL CAUSE OF INJURY AND POISONING (กลไกการบาดเจ็บ หรือการได้รับพิษ)
องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
1. บอกลักษณะกลไกการบาดเจ็บได้อย่างละเอียด เช่น บรรยายว่านั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์จะไปทำงาน แล้วรถจักรยานยนต์สะดุดก้อนหินลื่นล้มเอง หรือบรรยายว่าถูกฟันด้วยมีดอีโต้ขณะไปเที่ยวที่งานวัด
2. ระบุได้ชัดเจนว่าเป็นอุบัติเหตุ หรือถูกทำร้าย หรือเป็นการฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเอง
การให้รหัสสาเหตุภายนอก
1. บันทึกไว้เป็นลำดับสุดท้าย
2. เลือกประเภทคำวินิจฉัย (Dxtype) = 5
3. รหัส V,W,X,Y 

โปรแกรมตรวจสอบข้อมูลการบริการสาธารณสุขเบื้องต้น

โปรแกรมตรวจสอบข้อมูลการบริการสาธารณสุขเบื้องต้น OP-PP2010 for 2555 พัฒนาโดยคุณรังสรรค์ ศรีภิรมย์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๘ อุดรธานี ใช้สำหรับตรวจสอบข้อมูล 21 แฟ้ม โครงสร้างปีงบประมาณ 2555 เพื่อช่วยให้ผู้ที่ดูแลระบบฐานข้อมูลของหน่วยบริการ ได้เห็นจุดบกพร่องของข้อมูล และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตามส่วนขาดของข้อมูล ทำให้ข้อมูลของหน่วยบริการมีคุณภาพ เช่นเดียวกันกับโปรแกรม OPPP-NHSO 2554  ซึ่งระหว่าง 2 โปรแกรมนี้ ท่านจะใช้ตัวไหนก็ได้ตามสะดวก หรือจะใช้ทั้งสองก็ไม่ผิด       


ดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้ง : โปรแกรม OP-PP2010 for 2555
วิธีติดตั้ง : ถ้าท่านเคยติดตั้งโปรแกรมนี้มาก่อน ให้ Remove โปรแกรม แล้วลบโฟล์เดอร์ OP-PP2010 ออกให้หมด แล้วทำการติดตั้ง Version 2555 โดยดับเบิ้ลคลิ๊กไฟล์ที่ดาวน์โหลดไปนี้ แล้วทำตามคำแนะนำ

Update Program  : OP-PP2010_55_550309(Update วันที่ 9 มีค.55)   
วิธีติดตั้งตัว Update : ดับเบิ้ลคลิ๊กไฟล์ที่ดาวน์โหลดไปนี้ แล้วทำตามคำแนะนำ


แหล่งที่มา : http://61.19.158.205/~fantacynh/oppp2010/ 

ปัญหาฐานข้อมูล jhcisdb เสีย

ปัญหาฐานข้อมูล jhcisdb เสีย
อ้างอิง: http://dev.mysql.com/doc/refman/5.0/en/ ... overy.html


1. เปิดไฟล์คอนฟิกของ MySQL ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ด้วยโปรแกรม Notepad หรือ Wordpad
C:\Program Files\JHCIS\MySQL\my.ini
ค้นหา [mysqld] แล้วแทรกบรรทัด innodb_force_recovery = 4 ลงไป
บันทีกการแก้ไข


[mysqld]
innodb_force_recovery = 4


2. รีสตาร์ตเซอร์วิสของ MySQL ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ 
คลิก Start > All Programs > MySQL-JHCIS > MySQL Service Stop 
คลิก Start > All Programs > MySQL-JHCIS > MySQL Service Start


3. หากเซอร์วิสของ MySQL ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ทำงานได้ปกติ ก็จะสามารถติดต่อฐานข้อมูลได้ ให้ทำการสำรองข้อมูล (Backup) ออกมาด้วยโปรแกรม MySQL Administrator จะได้ไฟล์ jhcisdb.sql


4. นำไฟล์ jhcisdb.sql ที่ได้จากการสำรองข้อมูล (Backup) ไปทดสอบนำเข้า (Restore) ที่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (ต้องหามา) เพื่อให้มั่นใจว่า ไฟล์สำรองข้อมูลนั้นใช้ได้


5. หากมั่นใจว่าไฟล์สำรองข้อมูลที่ทำมาใช้การได้ ให้ทำการลบฐานข้อมูล jhcisdb เดิม ทิ้งไป
คลิก Start > All Programs > MySQL-JHCIS > MySQL Administrator คลิกเมนู Catalogs คลิกเม้าส์ปุ่มขวาที่รายการ jhcisdb แล้วเลือกเมนู Drop Schema


6. นำไฟล์ jhcisdb.sql ที่ได้จากการสำรองข้อมูล (Backup) มานำเข้า (Restore) กลับเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บฐานข้อมูลระบบงาน JHCIS


7. เปิดไฟล์คอนฟิกของ MySQL ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ด้วยโปรแกรม Notepad หรือ Wordpad
C:\Program Files\JHCIS\MySQL\my.ini
ค้นหา [mysqld] แล้วลบบรรทัด innodb_force_recovery = 4 ออกจากไฟล์
บันทีกการแก้ไข


8. รีสตาร์ตเซอร์วิสของ MySQL ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ 
คลิก Start > All Programs > MySQL-JHCIS > MySQL Service Stop 
คลิก Start > All Programs > MySQL-JHCIS > MySQL Service Start

6 มีนาคม 2555

การกำจัดไฟล์ Thumbs.db

ผม backup ข้อมูลลง maxtor ปรากฎว่าสถานะไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะไฟล์ Thumbs.db จึงลองหาวิธีลบดูครับ ต้องขอบคุณผู้เขียนบทความคนแรกที่ผมนำมาด้วยนะครับ พอดีลืมไปว่าเอามาจากไป ต้องขออภัยด้วยนะครับ


ไฟล์ Thumbs.db จะถูกสร้างขึ้นเมื่อเปิดข้อมูลใช้งานบ่อย ๆ เป็นไฟล์สำหรับเรียกซ้ำข้อมูลเดิม ประโยชน์ของมันคือ ทำให้การเรียกใช้งานไฟล์นั้น ๆ ทำได้รวดเร็ว แต่ก็มีข้อเสียคือ มันจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเปิดใช้งานบ่อย ๆ เพราะฉะนั้นถ้าเราลบไฟล์นี้ออกไปก็จะทำให้มีพื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้นยังไงล่ะ มีด้วยกันอยู่ 2 วิธีนะ ใครจะทำวิธีไหนก็ได้นะ มาเริ่มกันเลยดีกว่า
วิธีที่ 1
1. ดับเบิลคลิกที่ My Computer แล้วเลือกคำสั่ง Tools > Folder Options แล้วคลิกที่แท็บ View2. จากนั้นคลิกเครื่องหมายถูกหน้าช่อง Do not cache thumbnails 3. ที่ Hidden files and folders ให้คลิกที่ตัวเลือก Show hidden files and folders แล้วคลิก OK4. ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนการลบไฟล์ Thumbs.db กัน ให้คุณคลิกที่ Start > Search > for Files or Folders..5. แล้วคลิกที่ All file and folders ( จะอยู่ฝั่งขวามือ) จากนั้นพิมพ์ Thumbs.db ลงไปที่ All or part of the name: แล้วคลิก Search
6. เมื่อเจอไฟล์เหล่านี้แล้วก็คิ๊กเลือกทั้งหมดแล้วจัดการลบได้เลยค่ะ


วิธีที่ 2
1. คลิ๊ก Start > Run > พิมพ์ว่า GPEDIT.MSC เพื่อเรียกโปรแกรม Group Policy ขึ้นมา จากนั้นให้ไปที่ User Configuration > Administrative Templates > Windows Components > Windows Explorer
2. มาดูที่ช่องด้านขวาให้หาคลิ๊กคำว่า Turn off caching of thumbnail pictures จากนั้นคลิ๊กขวาแล้วเลือก Properties แล้วเลือก Enabled แล้วกดปุ่ม OK