9 กันยายน 2555

กฏกติกาของ JHCIS ปีงบประมาณ 2556

อ่านซะบ้าง ให้จบนะ แล้วจะได้ไม่มีปัญหา และ คำถามตามมา 
1. ปรับการบันทึกข้อมูลและค่าการส่งออก 21 แฟ้มข้อมูลเพื่อให้เป็นตามข้อกำหนดของ สปสช และ สนย ดังนี้
1.1 บันทึกโภชนาการ(Nutrition) ให้บันทึกได้เฉพาะในเดือน กรกฏาคม ,ตุลาคม ,มกราคม และ เมษายน เท่านั้น 
เพราะถ้าบันทึกในเดือนอื่นนอกจาก 4 เดือนนี้ จะทำให้ค่า Date_Serv(วันที่ตรวจโภชนาการ) ไม่อยู่ใน กฏเกณฑ์ สปสช 
และข้อมูลนี้จะ Error โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
- อายุ 0 -5 ปี ส่งออกในเดือน เดือน กรกฏาคม ,ตุลาคม ,มกราคม และ เมษายน( ปีละ 4 ครั้ง)
- อายุ 6 -14 ปี ส่งออกในเดือน เดือน กรกฏาคม และ มกราคม( ปีละ 2 ครั้ง)
- ไม่ส่งออกฯ ในกรณีที่เป็นคนต่างด้าว(ไม่ใช่สัญชาติไทย(099)) 
1.2 การส่งออกข้อมูลแฟ้ม Nutrition ต้องบันทึกทั้งน้ำหนัก และส่วนสูงที่เมนู บริการ –แทร็บโภชนาการ & วัคซีนเท่านั้น 
(การบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงที่เมนูบริการ –แท็บข้อมูลเบื้องต้น อาจจะไม่ถูกนำไปเป็นค่าโภชนาการสำหรับแฟ้ม Nutrition 
เนื่องจากอาจเป็นเรื่องการป่วย ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ในการประเมินภาวะโภชนาการได้)
1.3 แก้ไขการส่งออกน้ำหนัก และส่วนสูง ในแฟ้ม Chronicfu ให้มีค่าทศนิยม 2 หลักถ้าไม่มีเศษทศนิยม ให้ส่งเป็น .00
2. แก้ปัญหาที่ในบางครั้งการบันทึกโภชนาการในนักเรียนแล้วได้เป็นข้อมูลในแฟ้ม nutrition 
โดยไม่ว่าจะบันทึกกิจกรรม โภชนาการนักเรียน เป็นกิจกรรมแรกหรือไม่ ก็จะเป็นข้อมูลในแฟ้ม nutrition ให้เสมอ โดยต้องบันทึกทั้งน้ำหนักและส่วนสูง
3. ปรับเพิ่มให้บันทึกค่ารหัสสถานบริการที่ย้ายมา (Char(5)) ในเมนูผู้ใช้งานโปรแกรมฯ(user) เพื่อให้ส่งออกในแฟ้ม provider ใน 43 แฟ้ม
4. ที่เมนูการส่งออก 21 แฟ้มเพิ่มเงื่อนไขทางเลือกให้สามารถเลือกส่งทั้งหมดเฉพาะในแฟ้ม chronic ได้ 
(เนื่องจากปี งปม. 56 สปสช. ให้ส่งแฟ้ม chronic ทั้งหมดครั้งเดียวในเดือน กค. 55 (ยกเว้นรายใหม่ส่งได้ทุเดือน ))
5. รหัสสิทธิ (2 หลัก ยกเว้น 00:ข้าราชการ) ยังคงค้นหาได้เกี่ยวกับสิทธิแบบ รหัส 2 หลัก เพื่อรองรับรหัสสิทธิบางรายการที่ยังคงใช้อยู่ในบางพื้นที่
และสามารถ update ลงใน person . rightcode ได้จากแหล่งข้อมูลบางแหล่งที่ยังสามารถหามา update ได้)
6. ปรับค่าการบันทึกข้อมูลการตรวจตา เพื่อส่งออกในแฟ้ม chronicfu ในระบบ 43 แฟ้ม โดยเพิ่มค่าผลการตรวจเป็น ปกติ หรือไม่ปกติ ได้
(ในระบบ 21 แฟ้ม chronicfu จะบันทึก/ส่งออกฯ เฉพาะผลว่าตรวจ หรือไม่ตรวจ เท่านั้น )
7. ปรับเพิ่มให้สามารถบันทึกผลการตรวจพัฒนาการ(สมวัย) สำหรับเด็ก อายุ 0-72 เดือน ได้โดยตรงที่เมนูบันทึกโภชนาการ โดยบันทึกผลพัฒนาการเป็น 1:ปกติ 2:สงสัยว่าไม่ปกติ 3:ไม่ปกติ
8. ปรับเพิ่มให้บันทึกค่ารหัสสถานบริการที่ย้ายมา (Char(5)) ในเมนูผู้ใช้งานโปรแกรมฯ(user) เพื่อให้ส่งออกในแฟ้ม provider ใน 43 แฟ้ม
9. ปรับระบบการตรวจสอบเลขบัตรประชาชนตามหลัก Mod11 เพิ่มเติม ดังนี้
9.1 คนที่เลขบัตรประชาชน ไม่ถูกต้อง แต่สัญชาติไทย จะไม่มีการอัพเดท เลขบัตร ปชช ด้วยค่า pcucode+000…+pid (user ต้องแก้ไขให้เป็นเลขบัตร ปชช ที่ถูกต้อง เอง)
9.2 คนที่เลขบัตรประชาชน ไม่ถูกต้อง ที่ไม่ใช่สัญชาติไทย จะทำการอัพเดท เลขบัตร ปชช ด้วยค่า pcucode+000…+pid (เพื่อให้การตรวจคุณภาพเบื้องต้นด้วยโปรแกรม OP/PP ในแฟ้ม person ไม่ Error)
9.3 มีเมนูแสดงรายชื่อประชากรที่สัญชาติไทย ที่เลขบัตรประชาชนไม่ถูกต้องตาม Mod11 (คลิ้กที่ปุ่ม ตรวจสอบคนที่มีเลขบัตรประชาชน ไม่ถูกต้อง )
10. สามารถลบคนนอกเขตที่ไม่มีประวัติรับบริการใดๆ ออกจากฐานข้อมูล (ยกเว้นมีประวัติการรับบริการและมีประวัติการเป็นเด็กที่คลอดจากแม่) ได้ 
ที่เมนูข้อมูลพื่นฐานทั่วไป (คลิ้กที่ปุ่มฯ ลบคนนอกเขต ที่ไม่มีประวัติรับบริการ ออก)
11. สามารถเลือกเปลี่ยนรหัส วินิจฉัย opd ที่เป็นรหัสโรคเรื้อรัง ที่ไม่ถูกต้อง ให้เป็นรหัสวินิจฉัยใหม่ (เดิมลบทิ้งทั้งหมด หรือไปแก้ไขให้ถูกต้องในทุกครั้งที่ วินิจฉัยผิด ได้เท่านั้น)
12. แก้ปัญหาการส่งข้อมูลไปที่ Data Center ของจังหวัดสำหรับตารางที่เคยมีปัญหาฯ ดังนี้
12.1 ตาราง house => เพิ่มคำสั่ง insert into house ลงในตาราง replicate_log 
12.2 ตาราง visitancpregnancy และ visitanc => เพิ่มคำสั่ง insert into visitancpregnancy และ insert into visitanc …. ลงในตาราง replicate_log
12.3 ตาราง visitnutrition => เพิ่มคำสั่ง insert into visitnutrition ลงในตาราง replicate_log
13. update ค่าวันที่ติดตามล่าสุดให้ในแฟ้มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เมื่อผู้ป่วยดังกล่าวมารับบริการ 
14. สามารถนำเข้าข้อมูลรหัสโรค(icd10 tm version 5) ตามประกาศหน้าเวบ สปสช. จำนวน 41,147 รายการ แต่ผู้ใช้ต้องสั่งนำเข้าเอง ผ่านเมนูโปรแกรม(ตามที่โปรแกรมแจ้งแนะนำไว้)
15. แปลงข้อมูลการรับวัคซีน (EPI) จากฐานข้อมูล Hosxp เข้าใน JHCIS

การปรับ JHCIS สำหรับจังหวัดนำร่อง ส่งออก 43 แฟ้มที่ใช้ JHCIS (รวมทั้งที่มิใช่จังหวัดนำร่อง ด้วย)
1. หากเป็นการคลอดที่ ไม่ได้ให้บริการทำคลอดเอง ให้บันทึกการคลอดโดยไม่ต้องมี visit (service)
2. เพิ่มฟิลด์รหัสสถานบริการ ที่ user ย้ายจากมา( กรณีที่ย้ายจากที่อื่นมา(ไม่ใช่การบรรจุใหม่ครั้งแรกที่นี่) ) ในตาราง user เพื่อส่งออกในแฟ้ม provider
3. เพิ่มฟิลด์ผลพัฒนาการในตาราง visitnutrition เพื่อส่งออกใน แฟ้ม nutrition
และบันทึกข้อมูลนี้ได้ที่เมนูโภ
ชนาการ

1 ความคิดเห็น:

  1. แล้วปีงบประมาณ 2557 ล่ะลุง ใช้แนวทางเดียวกันเลยมั้ย

    ตอบลบ