15 กันยายน 2555

การคีย์ความครอบคลุม ANC และ การคลอด กรณีเราไม่ได้ทำ ANC และทำคลอดเอง


การคีย์ความครอบคลุม ANC และ การคลอด กรณีเราไม่ได้ทำ ANC และทำคลอดเอง
เนื่องจากทุกวันกรณีservice หรือไม่ใช่service ทำให้หลายๆท่านอาจจะงง แล้วก็มาเจอตอกับการคีย์คลอดกรณีที่เราไม่ได้ทำคลอดเอง(ผมว่าตอนนี้น้อยมากที่ รพ.สต.ทำคลอดเอง) ส่วนใหญ่ตอนนี้ก็คลอดที่โรงพยาบาลกันเป็นส่วนใหญ่ เริ่มเลยนะครับ
คราวนี้ลองศึกษาจากไฟล์วีดีโอดูบ้างนะครับ เผื่อเข้าใจง่ายกว่าการอ่านเอา แต่ขออภัยด้วยด้วยเนื่องจากอัดสดไม่มีสคริป ทำแบบรีบด่วน เนื่องจากมีน้องๆหลายๆท่านถามมาแล้วอธิบายดูท่าจะไม่เข้าใจ ลองศึกษาวีดีโอดูนะครับถ้ายังไม่เข้าใจอีกก็แจ้งกลับมานะครับ จะพยายามหาวิธีมาอธิบายให้เข้าใจ ดูจาก Youtube ได้เลย
เครดิต : อ.แรมโบ้ หมอลำซิ่งบ้านดุง


11 กันยายน 2555

การวินิจฉัยโรคผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

การวินิจฉัยโรคผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ใช้รหัสที่ขึ้นต้นด้วยอักษร S และการบาดเจ็บที่หลายส่วนของร่างกาย หรือที่ไม่ระบุรายละเอียด รวมทั้งการเป็นพิษและผลสืบเนื่องของสาเหตุภายนอก ใช้รหัสที่ขึ้นต้นด้วยอักษร T

การวินิจฉัยโรคที่อยู่ในหมวด S และ T จะมีเฉพาะการวินิจฉัยโรคหลัก PRINCIPLE DX อย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมีสาเหตุมาประกอบด้วยเป็นOTHER (อื่นๆ) ชนิดการวินิจฉัย(Diag Type = 4)
เช่น รถจักยานยนต์ล้มมีแผลถลอกที่เข่
1. การวินิจฉัยโรคหลัก แผลถลอกที่เข่า คือ S80 Superficial injury of lower leg
--> PRINCIPLE DX (การวินิจฉัยโรคหลัก) ชนิดการวินิจฉัย(Diag Type = 1)
2. สาเหตุประกอบ เกิดจากรถจักยานยนต์ล้ม คือ V28 ผู้ใช้รถจักรยานยนต์บาดเจ็บจากอุบัติเหตุขนส่งโดยไม่มีการชน --> OTHER (อื่นๆ) ชนิดการวินิจฉัย(Diag Type = 4)

เทคนิคการจำรหัสโรคในผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บตามร่างกายแบบง่าย ๆ เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

อวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บ
S0 = การบาดเจ็บที่ศีรษะ ตา หู จมูก ปาก ฟัน
S1 = การบาดเจ็บที่คอ
S2 = การบาดเจ็บที่ทรวงอก หลังส่วนบน กระดูกสันหลังส่วนบน
S3 = การบาดเจ็บที่ท้อง หลังส่วนล่าง กระดูกสันหลังส่วนเอว กระดูกเชิงกราน อวัยวะสืบพันธุ์
S4 = การบาดเจ็บที่ไหล่ ต้นแขน ไหปลาร้า
S5 = การบาดเจ็บที่ข้อศอกถึงปลายแขน
S6 = การบาดเจ็บของข้อมือ มือลงมาถึงนิ้วมือ
S7 = การบาดเจ็บที่สะโพกถึงต้นขา
S8 = การบาดเจ็บที่หัวเข่าถึงปลายขา
S9 = การบาดเจ็บที่ข้อเท้าลงมาถึงเท้า นิ้วเท้า

ต้องนำมาจับคู่กันกับลักษณะอาการบาดเจ็บซึ่งมี 4 ชนิด คือ
0 = ถลอก
1 = เปิด
2 = หัก
3 = เคลื่อน

การบาดเจ็บชั้นผิว รวม : การถลอก ตุ่มพอง(ที่ไม่เกิดจากความร้อน)รอยฟกช้ำ, รวมจ้ำและก้อนเลือด การบาดเจ็บจากสิ่งแปลกปลอมที่ผิว(เสี้ยน) โดยไม่มีแผลเปิด แมลงกัด(ไม่มีพิษ)

แผลเปิด รวม : สัตว์กัด รอยบาดหรือรอยกรีด แผลฉีกขาด แผลเจาะ(NOS , มีสิ่งแปลกปลอม(ทิ่มแทง))

ยกตัวอย่าง เช่น
แผลถลอกที่ข้อศอก --> ข้อศอก = S5 ถลอก = 0 การวินิจฉัยโรคหลัก แผลถลอกที่ข้อศอก คือ S50
แผลเปิดที่ศีรษะ --> ศีรษะ = S0 แผลเปิด = 1 การวินิจฉัยโรคหลัก แผลเปิดที่ศีรษะ คือ S01

สรุปการวินิจฉัยโรคผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ ประกอบด้วย
1. การวินิจฉัยโรคหลัก --> อวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บ + ลักษณะอาการบาดเจ็บ
--> PRINCIPLE DX (การวินิจฉัยโรคหลัก) ชนิดการวินิจฉัย(Diag Type = 1)
2. สาเหตุประกอบ --> อะไรเป็นสาเหตุของการป่วย
--> OTHER (อื่นๆ) ชนิดการวินิจฉัย(Diag Type = 4)

สาเหตุภายนอกของการเจ็บป่วย
V01-X59 อุบัติเหตุ
V01-V99 อุบัติเหตุการขนส่ง
V01-V09 คนเดินเท้าบาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
V10-V19 ผู้ใช้รถถีบบาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
V20-V29 ผู้ใช้รถจักรยานยนต์บาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
V30-V39 ผู้ใช้รถสามล้อเครื่องบาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
V40-V49 ผู้ใช้รถยนต์บาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
V50-V59 ผู้ใช้รถบรรทุกเล็กหรือรถตู้บาดเจ็บ ในอุบัติเหตุการขนส่ง
V60-V69 ผู้ใช้รถบรรทุกหนักบาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
V70-V79 ผู้ใช้รถโดยสารบาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
V80-V89 อุบัติเหตุการขนส่งทางบกอื่น
V90-V94 อุบัติเหตุการขนส่งทางน้ำ
V95-V97 อุบัติเหตุการขนส่งทางอากาศและอวกาศ
V98-V99 อุบัติเหตุการขนส่งอื่นและที่ไม่ระบุรายละเอียด
W00-X59 สาเหตุภายนอกอื่นของการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
W00-W19 การตกหรือล้ม
W20-W49 การสัมผัสแรงเชิงกลของสิ่งไม่มีชีวิต
W50-W64 การสัมผัสแรงเชิงกลของสิ่งมีชีวิต
W65-W74 การจมน้ำตายและจมน้ำจากอุบัติเหตุ
W75-W84 อุบัติเหตุอื่นที่คุกคามการหายใ
W85-W99 การสัมผัสกระแสไฟฟ้า รังสี อุณหภูมิและความดันสุดขั้ว
X00-X09 การสัมผัสควัน ไฟ และเปลวไฟ
X10-X19 การสัมผัสความร้อนและวัตถุร้อน
X20-X29 การสัมผัสสัตว์และพืชที่มีพิษ
X30-X39 การสัมผัสแรงธรรมชาติ
X40-X49 การเป็นพิษโดยอุบัติเหตุจากการสัมผัสสารพิษ
X50-X57 การออกกำลังมากเกิน การเดินทาง และการขาดแคลน
X58-X59 การสัมผัสโดยอุบัติเหตุกับปัจจัยอื่น และที่ไม่ระบุรายละเอียด 

หมายเหตุ...ขอบคุณน้องๆ ทีม สสจ.เลย

9 กันยายน 2555

กฏกติกาของ JHCIS ปีงบประมาณ 2556

อ่านซะบ้าง ให้จบนะ แล้วจะได้ไม่มีปัญหา และ คำถามตามมา 
1. ปรับการบันทึกข้อมูลและค่าการส่งออก 21 แฟ้มข้อมูลเพื่อให้เป็นตามข้อกำหนดของ สปสช และ สนย ดังนี้
1.1 บันทึกโภชนาการ(Nutrition) ให้บันทึกได้เฉพาะในเดือน กรกฏาคม ,ตุลาคม ,มกราคม และ เมษายน เท่านั้น 
เพราะถ้าบันทึกในเดือนอื่นนอกจาก 4 เดือนนี้ จะทำให้ค่า Date_Serv(วันที่ตรวจโภชนาการ) ไม่อยู่ใน กฏเกณฑ์ สปสช 
และข้อมูลนี้จะ Error โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
- อายุ 0 -5 ปี ส่งออกในเดือน เดือน กรกฏาคม ,ตุลาคม ,มกราคม และ เมษายน( ปีละ 4 ครั้ง)
- อายุ 6 -14 ปี ส่งออกในเดือน เดือน กรกฏาคม และ มกราคม( ปีละ 2 ครั้ง)
- ไม่ส่งออกฯ ในกรณีที่เป็นคนต่างด้าว(ไม่ใช่สัญชาติไทย(099)) 
1.2 การส่งออกข้อมูลแฟ้ม Nutrition ต้องบันทึกทั้งน้ำหนัก และส่วนสูงที่เมนู บริการ –แทร็บโภชนาการ & วัคซีนเท่านั้น 
(การบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงที่เมนูบริการ –แท็บข้อมูลเบื้องต้น อาจจะไม่ถูกนำไปเป็นค่าโภชนาการสำหรับแฟ้ม Nutrition 
เนื่องจากอาจเป็นเรื่องการป่วย ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ในการประเมินภาวะโภชนาการได้)
1.3 แก้ไขการส่งออกน้ำหนัก และส่วนสูง ในแฟ้ม Chronicfu ให้มีค่าทศนิยม 2 หลักถ้าไม่มีเศษทศนิยม ให้ส่งเป็น .00
2. แก้ปัญหาที่ในบางครั้งการบันทึกโภชนาการในนักเรียนแล้วได้เป็นข้อมูลในแฟ้ม nutrition 
โดยไม่ว่าจะบันทึกกิจกรรม โภชนาการนักเรียน เป็นกิจกรรมแรกหรือไม่ ก็จะเป็นข้อมูลในแฟ้ม nutrition ให้เสมอ โดยต้องบันทึกทั้งน้ำหนักและส่วนสูง
3. ปรับเพิ่มให้บันทึกค่ารหัสสถานบริการที่ย้ายมา (Char(5)) ในเมนูผู้ใช้งานโปรแกรมฯ(user) เพื่อให้ส่งออกในแฟ้ม provider ใน 43 แฟ้ม
4. ที่เมนูการส่งออก 21 แฟ้มเพิ่มเงื่อนไขทางเลือกให้สามารถเลือกส่งทั้งหมดเฉพาะในแฟ้ม chronic ได้ 
(เนื่องจากปี งปม. 56 สปสช. ให้ส่งแฟ้ม chronic ทั้งหมดครั้งเดียวในเดือน กค. 55 (ยกเว้นรายใหม่ส่งได้ทุเดือน ))
5. รหัสสิทธิ (2 หลัก ยกเว้น 00:ข้าราชการ) ยังคงค้นหาได้เกี่ยวกับสิทธิแบบ รหัส 2 หลัก เพื่อรองรับรหัสสิทธิบางรายการที่ยังคงใช้อยู่ในบางพื้นที่
และสามารถ update ลงใน person . rightcode ได้จากแหล่งข้อมูลบางแหล่งที่ยังสามารถหามา update ได้)
6. ปรับค่าการบันทึกข้อมูลการตรวจตา เพื่อส่งออกในแฟ้ม chronicfu ในระบบ 43 แฟ้ม โดยเพิ่มค่าผลการตรวจเป็น ปกติ หรือไม่ปกติ ได้
(ในระบบ 21 แฟ้ม chronicfu จะบันทึก/ส่งออกฯ เฉพาะผลว่าตรวจ หรือไม่ตรวจ เท่านั้น )
7. ปรับเพิ่มให้สามารถบันทึกผลการตรวจพัฒนาการ(สมวัย) สำหรับเด็ก อายุ 0-72 เดือน ได้โดยตรงที่เมนูบันทึกโภชนาการ โดยบันทึกผลพัฒนาการเป็น 1:ปกติ 2:สงสัยว่าไม่ปกติ 3:ไม่ปกติ
8. ปรับเพิ่มให้บันทึกค่ารหัสสถานบริการที่ย้ายมา (Char(5)) ในเมนูผู้ใช้งานโปรแกรมฯ(user) เพื่อให้ส่งออกในแฟ้ม provider ใน 43 แฟ้ม
9. ปรับระบบการตรวจสอบเลขบัตรประชาชนตามหลัก Mod11 เพิ่มเติม ดังนี้
9.1 คนที่เลขบัตรประชาชน ไม่ถูกต้อง แต่สัญชาติไทย จะไม่มีการอัพเดท เลขบัตร ปชช ด้วยค่า pcucode+000…+pid (user ต้องแก้ไขให้เป็นเลขบัตร ปชช ที่ถูกต้อง เอง)
9.2 คนที่เลขบัตรประชาชน ไม่ถูกต้อง ที่ไม่ใช่สัญชาติไทย จะทำการอัพเดท เลขบัตร ปชช ด้วยค่า pcucode+000…+pid (เพื่อให้การตรวจคุณภาพเบื้องต้นด้วยโปรแกรม OP/PP ในแฟ้ม person ไม่ Error)
9.3 มีเมนูแสดงรายชื่อประชากรที่สัญชาติไทย ที่เลขบัตรประชาชนไม่ถูกต้องตาม Mod11 (คลิ้กที่ปุ่ม ตรวจสอบคนที่มีเลขบัตรประชาชน ไม่ถูกต้อง )
10. สามารถลบคนนอกเขตที่ไม่มีประวัติรับบริการใดๆ ออกจากฐานข้อมูล (ยกเว้นมีประวัติการรับบริการและมีประวัติการเป็นเด็กที่คลอดจากแม่) ได้ 
ที่เมนูข้อมูลพื่นฐานทั่วไป (คลิ้กที่ปุ่มฯ ลบคนนอกเขต ที่ไม่มีประวัติรับบริการ ออก)
11. สามารถเลือกเปลี่ยนรหัส วินิจฉัย opd ที่เป็นรหัสโรคเรื้อรัง ที่ไม่ถูกต้อง ให้เป็นรหัสวินิจฉัยใหม่ (เดิมลบทิ้งทั้งหมด หรือไปแก้ไขให้ถูกต้องในทุกครั้งที่ วินิจฉัยผิด ได้เท่านั้น)
12. แก้ปัญหาการส่งข้อมูลไปที่ Data Center ของจังหวัดสำหรับตารางที่เคยมีปัญหาฯ ดังนี้
12.1 ตาราง house => เพิ่มคำสั่ง insert into house ลงในตาราง replicate_log 
12.2 ตาราง visitancpregnancy และ visitanc => เพิ่มคำสั่ง insert into visitancpregnancy และ insert into visitanc …. ลงในตาราง replicate_log
12.3 ตาราง visitnutrition => เพิ่มคำสั่ง insert into visitnutrition ลงในตาราง replicate_log
13. update ค่าวันที่ติดตามล่าสุดให้ในแฟ้มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เมื่อผู้ป่วยดังกล่าวมารับบริการ 
14. สามารถนำเข้าข้อมูลรหัสโรค(icd10 tm version 5) ตามประกาศหน้าเวบ สปสช. จำนวน 41,147 รายการ แต่ผู้ใช้ต้องสั่งนำเข้าเอง ผ่านเมนูโปรแกรม(ตามที่โปรแกรมแจ้งแนะนำไว้)
15. แปลงข้อมูลการรับวัคซีน (EPI) จากฐานข้อมูล Hosxp เข้าใน JHCIS

การปรับ JHCIS สำหรับจังหวัดนำร่อง ส่งออก 43 แฟ้มที่ใช้ JHCIS (รวมทั้งที่มิใช่จังหวัดนำร่อง ด้วย)
1. หากเป็นการคลอดที่ ไม่ได้ให้บริการทำคลอดเอง ให้บันทึกการคลอดโดยไม่ต้องมี visit (service)
2. เพิ่มฟิลด์รหัสสถานบริการ ที่ user ย้ายจากมา( กรณีที่ย้ายจากที่อื่นมา(ไม่ใช่การบรรจุใหม่ครั้งแรกที่นี่) ) ในตาราง user เพื่อส่งออกในแฟ้ม provider
3. เพิ่มฟิลด์ผลพัฒนาการในตาราง visitnutrition เพื่อส่งออกใน แฟ้ม nutrition
และบันทึกข้อมูลนี้ได้ที่เมนูโภ
ชนาการ